สุนัขไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน
เมื่ออยู่ในช่วงเป็นลูกสุนัข ก็ดูน่ารักไปซะไปหมดทุกตัว
และด้วยความน่ารักนี้เองจึงทำให้หลายคนตกหลุมรักแล้วตัดสินใจนำไปเลี้ยง
แต่เมื่อเวลาผ่านไปความสวยงามน่ารักของสุนัขก็เริ่มเปลื่ยนไป
บางตัวไม่น่ารักเหมือนเดิม
ทำให้ความรักความเอาใจใส่ที่เจ้าของ(บางราย)มีให้ก็เปลี่ยนไปด้วย
บางคนถึงขั้นเอาไปปล่อย จากหมาบ้านกลายเป็นหมาจรจัด(ซะงั้น)
ทั้งที่จริงแล้ว ยิ่งในช่วงที่สุนัขมีอายุมากขึ้น เริ่มชรา เข้าสู่วัยทอง
ระบบต่างๆ ในร่างกายก็เสื่อมสภาพลง
ซึ่งต้องอาศัยความเอาใจใส่จากผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันจำนวนสุนัขที่อยู่ในช่วงวัยทองมีมากกว่าแต่ก่อน
เนื่องจากพัฒนาการทางด้านการแพทย์ที่ทันสมัย
ร่วมกับได้รับการใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เลี้ยง
สุนัขจึงสามารุมีชีวิตยืนยาวได้มากกว่า 25 ปีทีเดียว
ขณะที่อายุเฉลี่ยของพวกเขาอยู่ที่ 13 ปีโดยประมาณ
พันธุกรรมที่หลากหลายเป็นปัจจัยให้สุนัขแต่ละตัวมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง
สายพันธุ์ใหญ่มักมีช่วงอายุสั้นกว่าสายพันธุ์เล็ก หรือพันธุ์ในกลุ่มทอย
ส่วนสายพันธุ์ขนาดกลางมีช่วงอายุยนยาวกว่าสุนัขพันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่
ขณะที่ปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศสกปรก ทำให้อายุสุนัขสั้นลงได้
นอกจากนี้ อาหาร ถือเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งซึ่งมีผลต่ออายุของสุนัข
ดังนั้น
อาหารที่ดีจะสามารถช่วยป้องกันหรือลดอัตราความเสี่ยงหรือความรุนแรงของการ
เกิดความผิดปกติต่างๆ แบบเรื้อรัง ช่วยให้สุนัขมีน้ำหนักตัวพอเหมาะ
และช่วยให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
ในทางกลับกัน หากอาหารและน้ำที่สุนัขได้รับมีคุณภาพไม่ดี มีการปนเปื้อนสารพิษก็จะทำให้สุนัขเจ็บป่วยโดยตรง หรือทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง ซึ่งก็สามาถทำให้อายุของเค้าสั้นลงได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสุนัขมีอายุมากขึ้น
มักจะเกิดปัญหาในเรื่องความเสื่อมของอวัยวะทั้งภายในและภายนอก
ทั้งระบบการกิน การย่อย ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ
รวมถึงประสาทสัมผัสการเมองเห็น การได้ยินเสียง การดมกลิ่น
หรือแม้แต่การวิ่ง การเดินที่เชื่องช้าลง นอกจากนี้ ยังมีอาการซึมเศร้า
เบื่ออาหาร ซึ่งถ้าเจ้าของปล่อยปละละเลย
อาการเหล่านี้ก็จะถามหาเจ้าสุนัขตัวโปรดเร็วขึ้น
การดูแลสุนัขที่อยู่ในช่วงวัยทองต้องอาศัยความใส่ใจ พิถีพิถันมากเป็นพิเศษ
เพราะสุนัขไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาพูดให้รู้ได้ว่าเจ็บป่วย ดังนั้น ควร
หมั่นสังเกตอาการต่างๆ ของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นอาการเบื่ออาหาร ขนร่วง
เดินไม่ตรง ซึมเศร้า และพาไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพ
การให้อาหาร ต้องเน้นในเรื่องสารอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม
ต้องคอยสังเกตุให้สุนัขมีน้ำหนักที่เหมาะสมควบคู่ไปด้วย
หากพบว่าสุนัขมีน้ำหนักมาก ควรลดปริมาณอาหารที่ให้
เพราะสุนัขวัยทองจะพบปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและปอด
เนื่องมาจากไขมันที่มากเกินไป
รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ รวมทั้งน้ำดื่ม
ก็ต้องสะอาดและให้อย่างเพียงพอด้วย
ชนิดของสารอาหารที่ร่างกายสุนัขวัยทองต้องการไม่แตกต่างจากช่วงวัยเจริญ
พันธุ์หรือขณะที่ยังเป็นลูกสุนัข หากแต่สิ่งที่สำคัญคือ คุณภาพและปริมาณ
วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหาร
ตลอดจนปริมาณความเข้มข้นของพลังงานต่อหน่วยอาหารที่เจ้าของควรปรับเปลี่ยน
ให้เหมาะสม ทั้งนี้ การปรับปริมาณพลังงานสำหรับสุนัขวัยทอง
ทำได้โดยการลดสัดส่วนของไขมันในอาหาร
เพิ่มสัดส่วนของโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย
โปรตีน เป็นสารอาหารที่สุนัขวัยทองต้องการมากว่าสุนัขวัยไหนๆ
เพราะจะมีน้ำหนักร่างกายของส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อลดลง
เป็นผลให้ปริมาณโปรตีนสำรองของร่างกายลดลง ซึ่งโดยทั่วไปโปรตีนสำรอง
ส่วนนี้จะถูกดึงมาใช้ประโยชน์เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเจ็บป่วยหรือเครียด
ภาวะเครียดในสุนัขวัยทอง อาจมีสาเหตุมาจาการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
อากาศ อุณหภูมิ ซึ่งสุนัขในวัยนี้มีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายอยู่แล้ว
คุณสมบัติของอาหารที่เหมาะสมกับสุนัขวัยทอง คืออาหารที่ย่อยง่าย
มีกรดอะมิโนครบถ้วน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ทั้งนี้
เนื้อสัตว์สีขาวจะย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์สีแดง ดังนั้น ควรเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของไข่ เนื้อปลา หรือเนื้อไก่ เพราะเป็นแหล่งก็โปรตีนที่ย่อยง่าย
ในส่วนของการออกกำลังกาย สำคัญมากเช่นกัน แต่ไม่ควรหักโหม
เพราะจะส่งผลต่อข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆ ที่เริ่มเสื่อมสภาพ
เจ้าของอาจจูงพาเดินเล่นบ้าง วิ่งบ้าง ออกกำลังกายแบบเบาๆ
หรือจะใช้วิธีการแบบบำบัดเข้าร่วมก็ได้
วิธีสังเกตน้องหมาว่าอยู่ในช่วงวัยทองหรือไม่
ขนตามตัวเริ่มมีสีขาวแซม
ขนที่เคยมันเป็นเงาเริ่มหยาบกระด้าง อาจมีการหลุดร่วงของเส้นขนร่วมด้วย
เหนื่อยง่าย แสดงอาการหอบเมื่อออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย
ชอบนอนทั้งวัน ไม่กระฉับกระเฉงเหมือนก่อน
ไม่ร่าเริงสดใส มีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมลดลง
ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น
หากพบว่าน้องหมาของคุณมีลักษณะดังกล่าวแค่เพียง 1-2 ข้อ ก็แปลว่าได้ว่าน้องหมาของเราอยู่ในวัยทองแล้ว
วิธีดูแลน้องหมาวัยทอง
ตรวจเช็คสุขภาพประจำปี
สุนัขควรมีการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจสอบหาปริมาณของเอนไซม์
เพราะปริมาณของเอนไซม์จะสามารถบอกได้ถึงการทำงานของระบบอวัยวะภายในได้เป็น
อย่างดี
ถ่ายพยาธิเป็นประจำ ควรถ่ายพยาธิทุกๆ 3 เดือน
ให้ยาฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม
เพื่อป้องกันโรคต่างๆ เพราะเมื่อมีอายุมาก ภูมิคุ้มกันอาจจะไม่แข็งแรงนัก
ดังนั้น
จะต้องให้ความสำคัญที่จะต้องให้ภูมิคุ้มกันต่อต้านโรคที่ไม่พึงประสงค์ เช่น
โรคไข้หวัด, หัดสุนัข,พิษสุนัขบ้าน
สุขภาพในช่องปาก
บางครั้งสุนัขอาจมีอาการกินอาหารน้องลงซึ่งอาจเกิดจากฟันฝุ
ถ้าเกิดขึ้นต้องพาไปพบสัตวแพทย์ ทางป้องกันฟันผุที่ดีคือ
ต้องแปรงฟันและขูดหินปูน จะช่วยลดอาการฟันผุลงไปได้บ้าง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น