วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

การดูแลน้องหมาวัยทอง

         


          สุนัขไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน เมื่ออยู่ในช่วงเป็นลูกสุนัข ก็ดูน่ารักไปซะไปหมดทุกตัว และด้วยความน่ารักนี้เองจึงทำให้หลายคนตกหลุมรักแล้วตัดสินใจนำไปเลี้ยง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความสวยงามน่ารักของสุนัขก็เริ่มเปลื่ยนไป บางตัวไม่น่ารักเหมือนเดิม ทำให้ความรักความเอาใจใส่ที่เจ้าของ(บางราย)มีให้ก็เปลี่ยนไปด้วย บางคนถึงขั้นเอาไปปล่อย จากหมาบ้านกลายเป็นหมาจรจัด(ซะงั้น) ทั้งที่จริงแล้ว ยิ่งในช่วงที่สุนัขมีอายุมากขึ้น เริ่มชรา เข้าสู่วัยทอง ระบบต่างๆ ในร่างกายก็เสื่อมสภาพลง ซึ่งต้องอาศัยความเอาใจใส่จากผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก

          ปัจจุบันจำนวนสุนัขที่อยู่ในช่วงวัยทองมีมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากพัฒนาการทางด้านการแพทย์ที่ทันสมัย ร่วมกับได้รับการใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เลี้ยง สุนัขจึงสามารุมีชีวิตยืนยาวได้มากกว่า 25 ปีทีเดียว ขณะที่อายุเฉลี่ยของพวกเขาอยู่ที่ 13 ปีโดยประมาณ พันธุกรรมที่หลากหลายเป็นปัจจัยให้สุนัขแต่ละตัวมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง สายพันธุ์ใหญ่มักมีช่วงอายุสั้นกว่าสายพันธุ์เล็ก หรือพันธุ์ในกลุ่มทอย ส่วนสายพันธุ์ขนาดกลางมีช่วงอายุยนยาวกว่าสุนัขพันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่ ขณะที่ปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศสกปรก ทำให้อายุสุนัขสั้นลงได้ นอกจากนี้ อาหาร ถือเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งซึ่งมีผลต่ออายุของสุนัข ดังนั้น อาหารที่ดีจะสามารถช่วยป้องกันหรือลดอัตราความเสี่ยงหรือความรุนแรงของการ เกิดความผิดปกติต่างๆ แบบเรื้อรัง ช่วยให้สุนัขมีน้ำหนักตัวพอเหมาะ และช่วยให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

          ในทางกลับกัน หากอาหารและน้ำที่สุนัขได้รับมีคุณภาพไม่ดี มีการปนเปื้อนสารพิษก็จะทำให้สุนัขเจ็บป่วยโดยตรง หรือทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง ซึ่งก็สามาถทำให้อายุของเค้าสั้นลงได้เช่นกัน

          อย่างไรก็ตาม เมื่อสุนัขมีอายุมากขึ้น มักจะเกิดปัญหาในเรื่องความเสื่อมของอวัยวะทั้งภายในและภายนอก ทั้งระบบการกิน การย่อย ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงประสาทสัมผัสการเมองเห็น การได้ยินเสียง การดมกลิ่น หรือแม้แต่การวิ่ง การเดินที่เชื่องช้าลง นอกจากนี้ ยังมีอาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร ซึ่งถ้าเจ้าของปล่อยปละละเลย อาการเหล่านี้ก็จะถามหาเจ้าสุนัขตัวโปรดเร็วขึ้น

          การดูแลสุนัขที่อยู่ในช่วงวัยทองต้องอาศัยความใส่ใจ พิถีพิถันมากเป็นพิเศษ เพราะสุนัขไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาพูดให้รู้ได้ว่าเจ็บป่วย ดังนั้น ควร หมั่นสังเกตอาการต่างๆ ของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นอาการเบื่ออาหาร ขนร่วง เดินไม่ตรง ซึมเศร้า และพาไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพ

          การให้อาหาร ต้องเน้นในเรื่องสารอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม ต้องคอยสังเกตุให้สุนัขมีน้ำหนักที่เหมาะสมควบคู่ไปด้วย หากพบว่าสุนัขมีน้ำหนักมาก ควรลดปริมาณอาหารที่ให้ เพราะสุนัขวัยทองจะพบปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและปอด เนื่องมาจากไขมันที่มากเกินไป รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ รวมทั้งน้ำดื่ม ก็ต้องสะอาดและให้อย่างเพียงพอด้วย

          ชนิดของสารอาหารที่ร่างกายสุนัขวัยทองต้องการไม่แตกต่างจากช่วงวัยเจริญ พันธุ์หรือขณะที่ยังเป็นลูกสุนัข หากแต่สิ่งที่สำคัญคือ คุณภาพและปริมาณ วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหาร ตลอดจนปริมาณความเข้มข้นของพลังงานต่อหน่วยอาหารที่เจ้าของควรปรับเปลี่ยน ให้เหมาะสม ทั้งนี้ การปรับปริมาณพลังงานสำหรับสุนัขวัยทอง ทำได้โดยการลดสัดส่วนของไขมันในอาหาร เพิ่มสัดส่วนของโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย

          โปรตีน เป็นสารอาหารที่สุนัขวัยทองต้องการมากว่าสุนัขวัยไหนๆ เพราะจะมีน้ำหนักร่างกายของส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อลดลง เป็นผลให้ปริมาณโปรตีนสำรองของร่างกายลดลง ซึ่งโดยทั่วไปโปรตีนสำรอง ส่วนนี้จะถูกดึงมาใช้ประโยชน์เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเจ็บป่วยหรือเครียด

          ภาวะเครียดในสุนัขวัยทอง อาจมีสาเหตุมาจาการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม อากาศ อุณหภูมิ ซึ่งสุนัขในวัยนี้มีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายอยู่แล้ว

          คุณสมบัติของอาหารที่เหมาะสมกับสุนัขวัยทอง คืออาหารที่ย่อยง่าย มีกรดอะมิโนครบถ้วน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ทั้งนี้ เนื้อสัตว์สีขาวจะย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์สีแดง ดังนั้น ควรเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของไข่ เนื้อปลา หรือเนื้อไก่ เพราะเป็นแหล่งก็โปรตีนที่ย่อยง่าย
   
          ในส่วนของการออกกำลังกาย สำคัญมากเช่นกัน แต่ไม่ควรหักโหม  เพราะจะส่งผลต่อข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆ ที่เริ่มเสื่อมสภาพ เจ้าของอาจจูงพาเดินเล่นบ้าง วิ่งบ้าง ออกกำลังกายแบบเบาๆ หรือจะใช้วิธีการแบบบำบัดเข้าร่วมก็ได้

วิธีสังเกตน้องหมาว่าอยู่ในช่วงวัยทองหรือไม่

           ขนตามตัวเริ่มมีสีขาวแซม

           ขนที่เคยมันเป็นเงาเริ่มหยาบกระด้าง อาจมีการหลุดร่วงของเส้นขนร่วมด้วย

           เหนื่อยง่าย แสดงอาการหอบเมื่อออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย

          ชอบนอนทั้งวัน ไม่กระฉับกระเฉงเหมือนก่อน

          ไม่ร่าเริงสดใส มีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมลดลง
          ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น

           หากพบว่าน้องหมาของคุณมีลักษณะดังกล่าวแค่เพียง 1-2 ข้อ ก็แปลว่าได้ว่าน้องหมาของเราอยู่ในวัยทองแล้ว

วิธีดูแลน้องหมาวัยทอง

           ตรวจเช็คสุขภาพประจำปี สุนัขควรมีการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจสอบหาปริมาณของเอนไซม์ เพราะปริมาณของเอนไซม์จะสามารถบอกได้ถึงการทำงานของระบบอวัยวะภายในได้เป็น อย่างดี

           ถ่ายพยาธิเป็นประจำ ควรถ่ายพยาธิทุกๆ 3 เดือน

           ให้ยาฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันโรคต่างๆ เพราะเมื่อมีอายุมาก ภูมิคุ้มกันอาจจะไม่แข็งแรงนัก ดังนั้น จะต้องให้ความสำคัญที่จะต้องให้ภูมิคุ้มกันต่อต้านโรคที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โรคไข้หวัด, หัดสุนัข,พิษสุนัขบ้าน

          สุขภาพในช่องปาก บางครั้งสุนัขอาจมีอาการกินอาหารน้องลงซึ่งอาจเกิดจากฟันฝุ ถ้าเกิดขึ้นต้องพาไปพบสัตวแพทย์ ทางป้องกันฟันผุที่ดีคือ ต้องแปรงฟันและขูดหินปูน จะช่วยลดอาการฟันผุลงไปได้บ้าง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบทดสอบนิสัยน้องหมา




 

คำถาม
  1. น้องหมาของคุณเรียนรู้เป็นอย่างไร
    1. เรียนรู้ได้เร็วถ้าสิ่งนั้นมีผลประโยชน์ล่อใจสำหรับน้องหมา แต่จะช้าถ้าเจ้าของพยายามสอนสิ่งใหม่ๆให้
    2. เร็วมากกกก
    3. เรียนรู้ได้เร็วเวลาอยู่ที่บ้านซึ่งไม่มีอะไรมาทำให้วอกแวก แต่จะตรงกันข้ามถ้าน้องหมาหวาดกลัวหรือว่าออกมานอกบ้าน
    4. เร็วถ้ามีของรางวัลมาล่อหรือว่าเป็นเกมที่น่าสนุก แต่จะช้าถ้าไม่มีของรางวัล
    5. ค่อนข้างจะเร็วตลอด
  2. เวลาอยู่ที่บ้าน น้องหมาของคุณเป็นอย่างไร
    1. สนใจ อยากรู้อยากเห็นตามแต่อารมณ์และความชอบ
    2. เรียบร้อยและทำตัวสบายๆ
    3. เก็บตัวและเงียบเชียบ
    4. ติดเจ้าของ อยากอยู่กับเจ้าของตลอดเวลา
    5. แสดงความรัก เป็นมิตร และผ่อนคลายเกือบตลอดเวลาฃ
  3. เวลาออกไปเดิน น้องหมาของคุณเป็นอย่างไร
    1. กระตือรือร้นมาก บางทีก็ไม่สนใจเจ้าของเลย
    2. มีความสุข ตอบสนองต่อสิ่งที่เราทำเป็นอย่างดี
    3. ระแวงทุกสิ่ง พยายามอยู่ใกล้คุณตลอดเวลา
    4. ร่าเริงมีความสุขดี แต่จะมาแอบหลังคุณเวลาเจออะไรที่กลัว
    5. มีความสุขและดูมีความเชื่อมั่นในตัวเองดี ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆได้ดี ไม่มีอะไรน่ากังวล
  4. คุณจะบรรยายน้องหมาของคุณว่าอย่างไร
    1. เป็นตัวของตัวเอง เยี่ยมมากลูกช๊านนนน!
    2. เป็นน้องหมาที่สุดจะเพอร์เฟ็ค
    3. เป็นน้องหมาที่ดีมากถ้ามีความมั่นใจ แต่บางทีก็ดูประสาทหลอนไปนะ
    4. อยู่ไม่สุขถ้าได้ยินเสียงดัง หรือว่าเวลาเราอารมณ์เปลี่ยนแปลง
    5. เป็นเพื่อนที่ดีที่สุด แต่บางทีก็ฝึกยากสักนิดนึง

      คำเฉลย
      ถ้าโดยมากตอบข้อ A
      แปลว่าคุณอาจจะมีน้องหมาก้าวร้าว! น้องหมาแบบนี้จริงๆแล้วเป็นหมาที่ฉลาดมากๆแต่มักจะใช้ความฉลาดเพื่อให้ตัว เองได้อะไรที่ต้องการเท่านั้น เราต้องฝึกให้น้องหมาแบบนี้นั้นเข้าใจว่าเราคือสมาชิกในบ้านเดียวกับเค้า เป็นทีมเดียวกัน ไม่ใช่ศัตรู พยายามฝึกน้องหมาให้มากๆให้เค้าเกิดพฤติกรรมที่ดีๆ ก็จะทำให้คุณใช้ชีวิตร่วมกับน้องหมาได้อย่างเป็นสุขค่ะ
      ถ้าโดยมากตอบข้อ B
      ถ้าเป็นแบบนี้ขอให้คุณแน่ใจว่าคุณตอบควิซนี้ตามความจริงๆแน่ ไม่ได้โกหก ถ้ามั่นใจว่าได้คำตอบตามนี้จริงๆก็แปลว่าคุณเป็นคนที่โชคดีมากๆ เพราะคุณมีน้องหมาที่สุดแสนจะสมบูรณ์แบบ! น้องหมาบางตัวนั้นว่าง่ายและมีนิสัยที่ดีกว่าน้องหมาทั่วๆไป ฝึกได้ง่ายโดยที่เราแทบไม่ต้องใช้ขนมหรือของรางวัลมาเป็นตัวล่อเลย แต่น้องหมานิสัยดีแบบนี้มันสุดจะหายากจริงๆนะ
      ถ้าโดยมากตอบข้อ C
      แปลว่าน้องหมาของคุณขาดความมั่นใจอย่างแรงในบางสถานการณ์ พยายามฝึกให้น้องหมาเข้าสังคม แต่คุณต้องฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่าฝึกเร็วเกินไป และควรจะเริ่มฝึกในสถานที่ที่น้องหมารู้สึกสบายๆหรือรู้สึกว่าปลอดภัยค่ะ
      ถ้าโดยมากตอบข้อ D
      แสดงว่าน้องหมาของคุณค่อนข้างอ่อนไหวได้ง่าย โดยมากเป็นน้องหมาที่เลี้ยงแบบใกล้ชิดเจ้าของมากๆ ประเภทอยู่กับคุณแทบจะทุกที่ทุกเวลา น้องหมาแบบนี้มักจะแสดงอาการประสาทเสียได้ง่ายเวลาที่อารมณ์ของคนในบ้าน เปลี่ยนแปลง ขอให้แน่ใจว่าคุณได้ให้รางวัล เสริมสร้างความมั่นใจ และคอยปลอบโยน เป็นแรงผลักดันให้น้องหมาเวลาที่เค้ารู้สึกซึมเศร้า
      ถ้าโดยมากตอบข้อ E
      ขอแสดงความยินดีด้วย! คุณมีความสัมพันธ์กับน้องหมาของคุณในระดับที่ดีมาก คุณควรจะเข้าใจในจุดนี้ว่า มันหาได้ยากมากที่เราจะเจอน้องหมาที่สมบูรณ์แบบไปซะทุกอย่าง ไม่ต้องถึงขนาดพยายามฝึกน้องหมาให้ทำทุกอย่างได้ยอดเยี่ยม แค่ใช้เวลาอยู่กับเค้า เล่นสนุกกันและฝึกน้องหมาบ้างตามสมควรก็พอแล้วค่ะ
      ถ้าไม่รู้ว่าจะตอบยังไง
      นั่นแปลว่าคุณยังไม่รู้จักน้องหมาของตัวเองมากพอ จงใช้เวลาอยู่ร่วมกับเค้าให้มากขึ้น เล่นและสอนน้องหมาให้ทำอะไรๆเป็นมากขึ้น แล้วอีกสัก 2-3 สัปดาห์กลับมาลองทำแบบทดสอบนี้อีกรอบ แล้วลองดูซิว่าคุณจะได้คำตอบหรือไม่
      คำตอบกระจายๆทุกข้อ
      อย่าไปกังวลว่าน้องหมาของเราจะผิกปกติอะไรหรือเปล่า ถึงจัดเข้ากับหมวดหมู่ไหนไม่ได้เลย คุณลองไปอ่านในแต่ละคำเฉลยทุกข้อแล้วเอาคำแนะนำมาผสมผสาน และมาปรับใช้กับน้องหมาของคุณค่ะ

      ที่มา : หนังสือ Dog Behaviour แต่งโดย Erica Peachey

เลี้ยงหมาอย่างไร ไม่ให้เป็นหมู


      


 
      1. ไม่ตามใจน้องหมา เมื่อเขามาขออาหาร เจ้าของต้องตัดใจไม่ให้อะไรกินทั้งสิ้น
เพราะหากให้ครั้งหนึ่งแล้วก็จะมีครั้งต่อ ๆ ไปตามมา
       2. ไม่ตามใจคน ทุกคนในบ้านต้องพร้อมใจร่วมมือกัน ไม่ให้ของกินใด ๆ ทั้งสิ้น
นอกเหนือจากอาหารประจำ เฮ้อจะขัดใจกันก็ตรงนี้แหละ
       3. ให้อาหารตามปริมาณ กรณีให้อาหารสำเร็จรูป ต้องคำนวณปริมาณต่อน้ำหนักตัวน้องหมา
ตามที่ระบุไว้ข้างถุง หรือกล่อง โดยจำนวนมื้อที่เหมาะสมคือ 2 มื้อ เช้า และเย็น
       4. ไม่ควรให้อาหารปรุงเอง เพราะอาหารที่ปรุงเองจะทำให้น้องหมาอ้วนง่าย เนื่องจากมีทั้งแป้ง
และไขมันสูง
      5. กินไม่หมดเก็บทิ้ง ไม่ควรวางไว้ตลอดวัน และหากเลี้ยงไว้หลายตัว ก็ควรให้กินของใครของมัน
หากกินของตัวหมดแล้ว ก็ห้ามไปกินของตัวอื่นอีก
      6. ปิดถังขยะให้มิดชิด ป้องกันการคุ้ยเขี่ยหาเศษอาหารกิน
      7. หยุดพฤติกรรมการกินแบบบุฟเฟ่ต์ หมาบางตัวชอบออกไปขอข้าวบ้านอื่น หรือตามร้านอาหารกินอีก?ต้องป้องกันห้ามออกไป
      8. หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยเผาผลาญพลังงาน และไขมันส่วนเกิน
ทำให้น้องหมาไม่อ้วน
      9. งดขนมนมเนย ของหวาน แป้ง น้ำตาล เป็นตัวการทำให้อ้วนได้เป็นอย่างดี ต้องงดเด็ดขาด
     10. จำไว้เสมอว่า คน คือผู้ทำให้หมาเป็นหมู ลำพังน้องหมาเองไม่สามารถไปเปิดตู้เย็น
หรือสรรหาอาหารมากินจนอ้วนเป็นหมูเองได้

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

คลิปวีดิโอฝึกน้องหมา ท่าที่ 1 "ขอมือ"


ท่าทางน้องหมาบอกอารมณ์

         เพื่อน ๆ หลายคนที่เลี้ยงสุนัข คงจะเคยเห็นสุนัขทำท่าทางต่าง ๆ แต่ใครจะรู้บ้างว่า ท่าทางแต่ละอย่างที่เค้าแสดงออกมานั่น สามารถสื่อสารกับเราได้ ว่าในตอนนั้นเค้ารู้สึกอย่างไร



1. สุนัขหาว หมายถึง ฉันกำลังเบื่อ



2. สุนัขหอน หมายถึง ฉันกำลังเหงา พวกเธออยู่ไหน มาหาหน่อย

3. สุนัขลิ้นห้อย หมายถึง เหนื่อย ร้อน อยากกินน้ำจัง


4. สุนัขนอนหงายท้อง หมายถึง ฉันยอมแพ้แล้ว

 5. สุนัขวนกัดหางตัวเอง หมายถึง ฉันกำลังเครียด และเบื่อที่ต้องอยู่แบบนี้


6. สุนัขกระดิกหาง ทำหูลู่ หมายถึง ฉันกำลังดีใจ และเป็นมิตรกับคุณ



7. สุนัขขนพอง ส่งเสียงขู่ หมายถึง นี่คือคำเตือนอย่าเข้ามานะ
  
 
8. สุนัขแยกเขี้ยวส่งเสียงคำราม หมายถึง ถ้าเข้ามาถูกกัดแน่ๆ


9. สุนัขเลียเจ้าของ หมายถึง ฉันอยู่ในฐานะผู้น้อย และอยากแสดงความรักต่อคุณ
  
 
10. สุนัขยกก้นสูง กระดิกหางระรัว หมายถึง มาเล่นกันเถอะ

11. สุนัขดมตามพื้น เดินวนรอบนอก หมายถึง ฉันกำลังหาที่ขับถ่าย เหมาะๆอยู่


12. สุนัขส่งเสียงขู่คำรามเวลาเล่น หมายถึง ฉันกำลังสนุกสุดๆ ไปเลย


13. สุนัขยกขาฉี่ ทีละนิด ทีละหน่อย หมายถึง ประกาศนี่คืออาณาเขต ของฉันนะ